คณะสงฆ์ธรรมยุต จังหวัดชุมพร
วัดโพธิการาม  ตำบลนาทุ่ง  อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร 86000
ประวัติกำเนิดคณะธรรมยุต
สรุปกาลกำเนิดแห่งคณะธรรมยุต

     นับแต่การที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จมาอยู่ครองวัดบวรนิเวศวิหารและได้ ทรงตั้งขนบธรรมเนียมต่าง ๆ ขึ้นสําหรับเป็นแบบแผนแห่งความประพฤติปฏิบัติและการทํากิจวัตรของ ภิกษุสามเณรในคณะเพื่อความถูกต้องไพบูลย์แห่งการปฏิบัติพระธรรมวินัยแล้ว อาจกล่าวได้ว่า พระสงฆ์ ธรรมยุตได้เกิดเป็นคณะหนึ่งขึ้นแล้วโดยพฤตินัย แม้ว่าจะไม่ได้รับการยกขึ้นเป็นคณะหนึ่งในทางราชการ และนับแต่พระสงฆ์ธรรมยุตได้มีสํานักเป็นเอกเทศ คือวัดบวรนิเวศวิหารแล้ว ได้มีการปกครองดูแล กันเองภายในคณะโดยมีพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นประธานแห่งหมู่คณะจนตลอด
     สมัยแห่งการทรงพระผนวช แต่เกี่ยวกับกาลกําเนิดแห่งคณะธรรมยุตตามที่ได้กล่าวมาแล้วแต่ต้น ท่าน กล่าวไว้หลายนัยซึ่งสรุปได้ดังนี้
 (๑) ในเรื่องประดิษฐานพระสงฆ์คณะธรรมยุติกนิกาย ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิป ประพันธ์พงศ์ ถือเอาปี พ.ศ. ๒๓๖๗ อันเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผนวชเป็น พระภิกษุ เป็นการกําเนิดของคณะธรรมยุต
 (๒) ในเรื่องพระราชประวัติในรัชกาลที่ ๔ โดยความย่อของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา ปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงกล่าวว่า การที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทําทัพหกรรมคืออุปสมบท ในคณะสงฆ์รามัญเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๓๖๙ (จ.ศ. ๑๑๘๘) ซึ่งเป็นปีที่ ๒ แห่งการทรงผนวชนั้น “เป็นต้นคติธรรมยุติกนิกาย
 (๓) ในลายพระหัตถ์ฉบับหนึ่งของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรส ทรงอ้างพระดํารัสเล่าของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ว่า ทรงถือว่า ปี พ.ศ. ๑๑๙๘ 

    (พ.ศ. ๒๓๗๒) เสด็จจากวัดมหาธาตุไปตั้งสํานักที่วัดสมอราย เป็นกาลกําเนิดของคณะธรรมยุต

 (๔) สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงถือเอาวันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๓๙  (ร.ศ. ๕๕) อันเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เสด็จจากวัดสมอรายมาอยู่ครองวัดบวรนิเวศวิหารว่า เป็นกาลกําเนิดของคณะธรรมยุต